DB ComYard

ตัวอักษรประดิษฐ์ของไทยแบบหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่มีหัวกลม แต่ก็ยังสามารถคงลักษณะจารีตประเพณีไว้ได้เป็นอย่างดี, คือ แบบตัวอักษรซึ่งมีหัวเปิด ขมวดปมกลมๆ ที่ส่วนปลายคล้ายยอดอ่อนของใบเฟิร์น, ลักษณะที่ว่านี้สามารถพบเห็นในแบบ ตัวพิมพ์ Clarendon ที่ออกแบบโดย Robert Besley ตั้งแต่ปี ค.ศ.1845 ปรากฏให้เห็นในตัวพิมพ์เล็ก (Lower Case) หลาย ตัว เรียกว่า "circular terminal". จุดเด่นของตัวอักษรไทยสไตล์นี้อีกประการหนึ่งคือ ส่วนปลายหางอักษรจะมีลักษณะเส้นหนักเบาตวัดปลายคล้าย stroke ที่เกิดจากปลายพู่กันอย่างจีน เราจะเห็นแบบอักษรกลุ่มนี้กระจายอยู่ทั่วประเทศ ตามป้ายร้านค้าเก่าที่ยังอนุรักษ์ไว้, ป้ายโรงเรียน สถานที่ราชการ, วัด วัง ฯลฯ ด้วยระดับความละเอียดประณีตบรรจงแตกต่างกันออกไปตามระดับฝีมือช่าง, บ้างก็เป็นงานเขียนด้วยสี, บ้างก็เป็นตัว อักษรไม้หรืองานปูนปั้น ฯลฯ

ลักษณะรูปลักษณ์อักษรที่ดูอ่อนช้อยเป็นไทย ดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วนั้น เป็นไปได้ว่าเกิดจากการคลี่คลายลายเส้นในงานจิตรกรรมไทยของช่างเขียน ช่างสลัก ช่างปูนปั้นของไทยเอง หรืออาจเป็นการซึมซับปรับปรุงมาจากต่างชาติ (ส่วนหัวมา จากทางยุโรป อเมริกา และส่วนหางมาจากจีน) ก็เป็นไปได้

ถ้าลองย้อนศึกษาดูสิ่งพิมพ์โฆษณาไทยในช่วงปี พ.ศ. 2470-2479 จะพบลักษณะที่ว่านี้ในตัวอักษรที่เขียนด้วยมือเพื่อนําไปทําบล็อคพิมพ์. ตัวเรียงพิมพ์ตะกั่วที่ใช้พิมพ์ในยุคนั้นคงมีเพียงแบบเดียวที่มีลักษณะหัวคล้าย circular terminal คือ "โป้งแซ" ตัวพาดหัวยอดนิยมที่ได้รับการยอมรับว่างดงามที่สุดของยุคตัวเรียงตะกั่ว, อย่างไรก็ตามนับจากโป้งแซเป็นต้นมาก็ยังไม่มีตัวพิมพ์ยุค phototype setting (ที่คนไทยนิยมเรียกตัวคอมพิว) หรือแม้แต่เป็นแผ่นอักษรลอกที่มีลักษณะหัวอย่างโปังแซออกมาให้เห็นเลย. เมื่อ PSL Thai Common ฟอนต์ PostScript ของ พัลลภ ทองสุข ออกสู่ตลาดจึงสามารถเติมเต็มช่องว่างที่ขาดไปได้อย่างดี, ลักษณะสําคัญของ PSL Thai Common คือรูปทรง ที่ค่อนข้างผอมประหยัดที่ในการใช้พาดหัว, สัดส่วนแบบง่ายๆ คือ รูปอักษรพยัญชนะส่วนใหญ่ที่ดูกว้างใกล้เคียงกัน ประกอบกับรายละเอียดอื่นๆ เช่น เส้นคอของอักษร ค,ต ที่เหยียดตรง ทําให้ชื่อ Thai Common ฟังดูเหมาะสมเพราะรูปลักษณ์คูเป็น ไทยๆ ธรรมดาดี ค่อนไปทาง "ชาวบ้าน" มากกว่า "ชาววัง"

DB ComYard (DB#3)
ฟอนต์ไทยกึ่งพาดหัวกึ่งตัวเนื้อ ย้อนยุคกลับไปหาคุณค่าในอดีตด้วยการเพิ่ม "จริต" เข้าไปในรูปอักษร
DB ComBork (DB#5)
เพื่อบอกกล่าวอย่างเป็นทางการ เกิดจากการนำ DB ComYard มาปรับปุงส่วนหัว, หาง และสัดส่วนอักษรให้แคบลง

ปัญหามันอยู่ที่ว่า ในโลกยุค Branding ที่ต้องสร้างคุณค่าผ่านตัวพิมพ์นั้น อย่าว่าแต่สินค้าหรือธุรกิจบริการชั้นสูงที่เน้น ความเป็นไทยเลย แม้แต่ร้านอาหารไทยเล็กๆ หรือสินค้า SMEs ที่อยากดูดีกว่า OTOP แบบพื้นๆ ก็ยังมีความต้องการยกระดับภาพลักษณ์เช่นเดียวกัน, PSL Thai Common ซึ่งตั้งใจเกิดมาเป็นชาวบ้านจึงไม่อาจรองรับความต้องการได้ครบ. ยิ่งถ้าเป็นงานที่ใช้สื่อถึงงานศิลปะชั้นสูง หรือถวายงานเจ้านายชั้นสูงแล้ว ตัวพิมพ์ยิ่งต้องเพิ่มความประณีตวิจิตรบรรจงเข้าไป เพื่อให้ได้บุคลิกสอดคล้องกับเรื่องราวที่นําเสนอ. กล่าวอย่างเป็นธรรม ไม่มีแบบฟอนต์ใดในโลกที่ใช้ได้ครอบจักรวาล, ดีบี คําหยาด จึงถือกําเนิดขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเติมเต็มช่องว่างที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก

การกําหนดสัดส่วนโดยรวมของตัวพิมพ์ "คําหยาด" ชุดนี้ ผมตั้งเป้าให้ใกล้เคียงกับแบบตัวพิมพ์เนื้อความมาตรฐานของไทยให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้สามารถใช้เป็นตัวหัวข้อรอง (subhead) หรือตัวโปรยให้อ่านยาวๆ ได้ง่าย โดยไม่ต้องนํา PSL Thai Common มาสั่งเพิ่มความกว้างเหมือนที่เคยนิยมทํากันมา) หรือแม้แต่ใช้พิมพ์ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อความได้โดยที่ยังดูกลมกลืนไม่แปลกแยกจากกัน. รายละเอียดส่วนใหญ่ในเส้นร่างของผมเป็นการประสมเล็กประสมน้อย จากสิ่งประทับใจที่ซึมซับมาจากงานโฆษณาเก่าๆ, จากป้ายห้างร้าน, สถานที่ ราชการ, วัดวาอาราม ฯลฯ ส่วนที่ถูกให้ความสําคัญเป็นพิเศษ คือส่วนหางที่มีลักษณะตวัดปลายซึ่งถือว่ายากที่สุด (ต้องหยาดเยิ้มสมกับชื่อที่ตั้งไว้ในใจ). นอกจากนั้นยังให้ความพิถีพิถันกับการถ่ายน้ําหนักของตัว ร, โ, ใ, ไ ไม่ให้ดูเทล้มไปข้างหน้า เพื่อให้ทุกถ้อยคําที่ถูกถ่ายทอดด้วยตัวพิมพ์ชุดนี้ นอกจากจะ ฟังดูระรื่นหูแล้ว ยังน่าเชื่อถือไม่โยกโย้กลับไปกลับมา ถ้าเอาไปทําตราสินค้า ทําบรรจุภัณฑ์หรือโฆษณา นอกจากจะดูระรื่นตาแล้ว ยังสามารถบ่งบอกถึงระดับมาตรฐานคุณภาพของสินค้าและบริการ

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม
ห้องธนบัตรไทย
โดยบริษัท แปลน โมทิฟ จำกัด
ใช้ฟ้อนต์ DB ComYard เป็นตัวพาดหัว
ตัวอย่างโฆษณาสิ่งพิมพ์ จากหนังสือ "โฆษณาไทย เล่ม ๒ ยุค ๒๔๗๐" หน้า 235
โดย เอนก นาวิกมูล แสดงถึงการใช้งานร่วมกันระหว่างตัวอักษรฝีมือช่างบล๊อค (ห้างขายยาตรานกยูง) และตัวเรียงตะกั่ว "โป้งแซ" (โอสถสตรี) ที่มีลักษณะหัวคล้าย circular terminal ในแบบตัวพิมพ์ Clarendon

ถ้าลองมองเงยหน้าดูป้ายบอกทางของกรมทางหลวงหรือ การทางพิเศษฯ จะพบว่าแบบตัวอักษรดูธรรมดาและเรียบง่าย กว่าทั้ง PSL Thai Common และ ดีบี คําหยาด เนื่องจากหัวอักษรเป็นจุดกลมทึบและหางเรียวแหลมเป็นส่วนใหญ่, ผมจึงปรับปรุง ดีบีคําหยาด เป็น ดีบี คําบอก โดยการ "ลดจริต" ให้ดูคล้ายตัวป้ายบอกทางเพื่อเป็นทางเลือกให้นักออกแบบใช้ทําภาพเลียนแบบป้ายในงานโฆษณา หรือใช้พาดหัวเพื่อบอกเล่ากล่าวเตือนที่ดูเป็นทางการ (มากกว่า PSL ThaiCommon หรือ ดีบี คําหยาค ซึ่งค่อนไปทางจารีตประเพณี, ศิลปะวัฒนธรรม)

ชื่อ "คําหยาด" ผมตั้งตามชื่อหนังสือกวีเล่มโปรคที่เขียน โดยอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ดีบี คําหยาด และ ดีบี คํา บอก สะกดด้วยอักษรโรมันเป็น DB ComYard และ DB ComBork ตามลําดับ และที่สะกดด้วย 'Com' แทนที่จะเป็น 'Cum นั้นไม่ ได้ตั้งใจให้ดูคล้าย PSL Thai Common แต่อย่างไร

คําว่า 'Cum" แปลว่า "อสุจิ ถึงไม่หยาบก็ควรเลี่ยงเป็น "Com" แทนครับ !

จากคอลัมน์ a font a month
idesign magazine ฉบับ August 2008