DB YangDung

ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมหนังไทยยุคก่อนเป็นที่รวมของยอดฝีมือ ทั้งช่างเขียนภาพ ช่างเขียนตัวอักษร เพราะในยุคนั้นอยากได้ภาพโปสเตอร์ขนาดใหญ่แค่ไหนต้องเขียนลูกเดียว ไม่มีงานพิมพ์ inkjet ใหญ่ขนาดห่อหุ้มตึกทั้งตึกได้อย่างปัจจุบันนี้! กล่าวได้ว่าการเกิดขึ้นของเทคโนโลยียุคดิจิทอลทําให้งานกราฟิกล้ำไปไกลมาก จนวิธีการเขียนภาพโชว์ฝีแปรง รวมทั้งตัวอักษรในโปสเตอร์กลายเป็นของทํายาก เพราะขี้เกียจทํา! ตอนนี้แค่มีไฟล์ภาพดารามาให้ มีฟอนต์ที่ถูกใจก็จบงานโปสเตอร์ได้โดยไม่ต้องถึงมือช่างเขียนขั้นเทพเหมือนแต่ก่อน. การเกิดขึ้นของหนังย้อนยุคอย่าง ‘ฟ้าทะลายโจร’ ใน พ.ศ.2543 จึงนับว่าถูกที่ถูกเวลา เพราะคนไทยยุคเก่าก็โหยหา คนยุคใหม่ก็รู้สึกแปลกตา. คนยุคกลางเก่ากลางใหม่อย่างผมจึงชอบมากเป็นพิเศษ!

แบบอักษร SR Fahtalailone โดย ‘โรจ สยามรวย’ ที่ใช้กับหนังเรื่องนี้ รวมทั้ง DB ChokeChai (DB#7) ถือเป็นงานตัวพิมพ์ย้อนยุคประเภทเขียนมือของ ‘คณะช่าง’ หนึ่งในกลุ่มยอดฝีมือผลิตงานโฆษณายุคเก่า. ในยุคสมัยเดียวกันนี้ ยังมีอักษรประดิษฐ์อีกประเภทหนึ่งที่ใช้เครื่องมือเขียนแบบง่ายๆ คือ ไม้ที ไม้ฉาก ช่วย เป็นที่นิยมใช้กันมากในวงการหนังไทย โดยพัฒนารูปแบบตามกันมา. พบได้ทั่วไปตั้งแต่ตัวพาดหัวบนโปสเตอร์ ใบปิดหนัง จนถึงโลโก้ของบริษัทสร้างหนังหลายแห่งในยุคนั้น.

สํานึกสาธารณะ
ยุคที่การเมืองกลายเป็นธุรกิจ, ยุคที่ข้าราชการกลายเป็นข้านักการเมืองและข้านักธุรกิจ DB YangDung ถูกใช้ปลุกสํานึกสาธารณะก่อนประเทศถึงกาลล่มสลาย
ตัวเหลี่ยมหนังไทย
ชื่อคาราแสดงนําจากโปสเตอร์ ‘สันติ-วีณา’ ภาพยนตร์ 35 มม. เรื่องแรกของไทย
ตัวอย่าง Logo บริษัทสร้างภาพยนตร์ไทย (ภาพจาก ‘ร้อยปีหนังไทย’ รวบรวมโดยโคม สุขวงศ์ และสวัสดิ์ สุวรรณปักษ์)
โฆษณาชวนเชื่อ หนังสือรวมบทกวีของนักปฏิวัติชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่ ถูกแปลเป็นภาษาไทยในยุคโฆษณาชวนเชื่อลัทธิคอมมิวนิสท์ ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 กลับมาตีพิมพ์ใหม่ ด้วยตัวพาดหัวอย่างดัง โดยสํานักพิมพ์โลกทรรศน์

ลักษณะทั่วไปของตัวเหลี่ยมหนังไทยกลุ่มนี้คือเป็นตัวเหลี่ยม (ตามเครื่องมือหลักที่ใช้ร่าง) หัวอักษรเป็นขีคสั้นๆ ในแนวนอน (ไม่นิยมละหัวแบบหายไปเลยอย่างในปัจจุบัน) เส้นแนวตั้งมีตั้งแต่ค่อนข้างหนาจนถึงหนาทึบ, เส้นแนวนอนค่อนข้างบาง. รายละเอียดที่น่าสนใจ คือ สันของมุมฉาก ที่เกิดจากเส้นนอนทํามุมกับเส้นตั้งนั้นจะถูกลบมุมให้โค้งมน (ส่วนพับในคงปล่อยให้เป็นฉากอยู่) การลบมุมฉากดังกล่าวนี้ เป็นประโยชน์มากต่อตัวเหลี่ยมกลุ่มนี้ เพราะทําให้เราสังเกตทิศทางของหัวได้ง่าย เราจึงเห็นความแตกต่างระหว่าง ผ กับ พ ได้ชัดเจน (แม้ว่าเส้นกลางตัว ผู้ ชุดนี้จะนิยมเขียนสูงเสมอเส้นหลังเหมือนตัว พ ก็ตาม). การลบมุมฉากเฉพาะสันที่ว่ามานี้ นอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงเชิงช่าง เป็นการลดความกระด้างแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้อักษรทั้งชุดอ่านง่ายมากขึ้น นั่นเพราะหัวถือเป็นอัตลักษณ์ที่สําคัญของอักษรไทย และมีอักษรไทยหลายคู่ที่ดูต่างกันได้ โดยอาศัยทิศทางการหันหัว ที่เห็นชัดว่าต่างกันนั่นเอง.

จุดเด่นอีกประการหนึ่งของตัวเหลี่ยมหนังไทยกลุ่มนี้ คือ ตัวอักษรมีขนาดความกว้างที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวที่มีความกว้างปรกติ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ก, บ, ม, น, อ เป็นต้น. 2) กลุ่มที่กว้างมาก ได้แก่ ค-ด, ผ-พ (ล, ส มีทั้งที่ตัวกว้างและตัวปรกติ) และ 3) กลุ่มที่ตัวแคบมาก เช่น ร, ว. ขนาดที่แตกต่างกันมากนี้ถือเป็นอิสรภาพของอักษรประเภทที่เขียนประดิษฐ์ขึ้นเอง, ช่างเขียนยุคนั้นมีอิสระที่จะเขียนสระอิ, อี, อึ, อื กว้างเท่ากับพยัญชนะตัวไหนก็ได้ที่มันกํากับอยู่! ต่างจากฟอนต์ไทยส่วนใหญ่ของยุค PostScript (รวมทั้งฟอนท์ OpenType ที่ย้ายตัวพิมพ์จาก PostScript มาโดยไม่ได้พัฒนาต่อ) ยังคงมีชุดสระบนเพียง 2 ชุดเท่านั้น คือชุดสําหรับตัวทั่วๆ ไป กับชุดสําหรับ ป, ฝ, ฟ ที่ต้องเบื้องหน้าเพื่อหลบหาง หรือยกสูงให้ลอยพ้นหาง.

สํานึกแห่งศรัทธา ยิ่งประเทศสับสน! ประชาชนยิ่งรักในหลวง พาดหัว 'SMEs Today เล่มที่ 62 ประจําเดือนธันวาคม 2550 โดยมนตรี จันทรศิริ เลือก DB YangDung ปลุกสํานึกแห่งศรัทธา ต่อศูนย์รวมจิตใจชนในชาติ

การที่ตัวเหลี่ยมหนังไทยกลุ่มนี้ มีซุ้มเสียงดังฟังชัด สั่งใจคนอ่านได้ เกิดจากการเน้นเส้นตั้งให้หนาเป็นพิเศษ และใช้เส้นนอนบางเพื่อเก็บรายละเอียดสําคัญ. เราจะไม่สังเกตเห็นเส้นแนวเฉียงมากนักในตัวเหลี่ยมกลุ่มนี้ เพราะแม้จะมีก็ถูกจัดให้มีความชันสูง (เช่นตัว ง, จ) หรือไม่ก็เห็นแค่เส้นสั้นๆ อยู่ต่ำติดเส้นฐาน (เช่น น, ม) ทําให้ดูไม่เด่นชัดนัก.

ขมวดม้วนของ น ที่พบในบางชุดจะไม่มีเส้นเฉียงเลย ช่างเขียนใช้วิธีต่อเส้นหลังให้ยาวตัดฉากทับกับเส้นล่างที่ลากเสมอเส้นฐานเลยแนวเส้นหลังเล็กน้อย. เส้นคอของตัว ค จะเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ทําให้ดูต่างจาก ด ที่มีคอตั้งตรง อวดให้เห็นหัวที่หันฉากไปข้างหน้าได้ชัดๆ. คอตัว จ เป็นลักษณะเดียวกันกับ ค. ส่วนตัว ง นิยมเขียนให้หางหักเฉียง ขึ้นไปจนเสมอระดับหัว.

ตัวที่ผมเห็นว่าน่าพูดถึงเป็นพิเศษนั้นคือตัว ย ซึ่งถือเป็นไม้เด็ดของชุดตัวเหลี่ยมหนังไทยเลยทีเดียว สังเกตให้ดี เส้นหน้าของมันมีแต่หยักเข้า ไม่ยักมีการหยักออก! ลักษณะการเขียนทํานองนี้ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ มันมีรากที่มาจากตัวเขียนบนใบลานยุคโบราณของไทย. การใช้วัตถุปลายแหลมเขียนหยักเข้าออกในแนวนอนนั้นทําได้ยากบนใบลานซึ่งมีร่องใบขนานเป็นทางตามแนวนอน จึงมักนิยมเขียนแค่หยักเข้า แล้วขีดลงมาเส้นฐานแทน (ย้อนดูบทความ DB Yam ตัวพิมพ์ ยุคแรกที่ได้รับอิทธิพลจากตัวเขียน) ‘ยักษ์เก่า‘ ถูกนํามาปรับโฉมใหม่เล็กน้อยในชุดตัวเหลี่ยมหนังไทย โดยแทนที่จะหยักเข้าแล้วขีfลงขนานกับเส้นหลังกลับเขียนลงแบบสอบเข้าหา เส้นหลังเล็กน้อย เกิดเป็นเส้นเฉียงล้อกับตัวอื่นๆ. ย จึงกลายเป็นตัวเด่นของกลุ่ม ทั้งอ่านง่าย สวยงาม และจําง่าย ครบเครื่องจริงๆ. ใครเป็นคนเขียน ย แบบนี้ เป็นคนแรกจึงเป็นเรื่องที่น่าสืบค้น (ก่อนหลักฐานที่หลงเหลืออยู่จะเสื่อมสูญ) เพื่อการเชิดชูซูฮก!

ในการอนุรักษ์เป็นฟอนต์ดิจิทอล ผมตั้งชื่ออักษรเหลี่ยมหนังไทยเสียใหม่ว่า ‘อย่างดัง’ ให้สมกับบุคลิกที่แสดงออกถึง ความยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยของมัน. DB YangDung (DB#3) เกิดขึ้นในช่วงที่เมืองไทยยังใช้ฟอนต์แบบ PostScript กับ คอมพิวเตอร์เก่าอยู่มาก จึงต้องทําอย่างดังเป็นฟอนต์ทั้งแบบ PostScript และ Opentype (Db YangDung และ DB YangDung X ตามลําดับ)

เพราะฟอนต์อย่างดังแบบ PostScript ทําจาก Fontographer ซึ่งไม่มี feature ที่เรียกว่า Ligature ให้ใช้ จึงเป็นอุปสรรคที่จะรักษาเอกลักษณ์ชุดสระบนที่เปลี่ยนความกว้างไปตามพยัญชนะที่มันกํากับอยู่ ดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วได้, จึงต้องจํายอมทําตัว ร, ว ให้กว้างกว่าต้นแบบ เพื่อใช้ชุดสระบนร่วมกับตัวปรกติและตัวกว้างได้, ส่วนฟอนต์อย่างดังในชุด ที่เป็น OpenType เราสามารถย้อนยุคกลับไปรักษาความ จิ๊กโก๋เดิมๆ ได้ เพราะ Ligature ที่มีใน FontLab ทําให้สามารถเขียนคําสั่งเลือกสระขนาดเหมาะสมกับความกว้าง ของพยัญชนะได้นั่นเอง. ใครอ่านถึงตรงนี้แล้วลองจินตนาการถามตัวเองดูซิว่า ผมควรทํา DB YangDung ให้มีชุดสระอิ, อี, อึ, อื ความกว้างแตกต่างกันซักกี่ชุคถึงจะพอ?..

คําตอบคือ 1) ชุดสําหรับตัวกว้างปรกติ 2) ชุดสําหรับตัวกว้างเป็นพิเศษ 3) ชุดสําหรับตัวแคบเป็นพิเศษ 4) ชุดตัวกว้างปรกติที่มีหางตั้ง คือ ป และ 5) ชุดตัวกว้างพิเศษที่มีหางตั้ง คือ ฝ, ฟ เบ็ดเสร็จรวม 5 ชุดพอดี! บางคนอาจมีคําถามว่า ทําไมพวกกว้างแต่กําเนิดโครงสร้าง 4 ตัวอย่าง ฌ, ญ, ฒ ณ ผมจึงไม่จัดชุดพิเศษชุดที่ 6 ให้? คําตอบคือ ตัวมันกว้างมาก มากกว่าพวก ด, พ ฯลฯ เสียอีก เมื่อลองใช้ชุดสระอีของตัวปรกติพิมพ์ ณี ดูพบว่า แม้จะสั้นแต่ยอมรับได้ ด้วยความเคยชิน เนื่องจาก ณ เป็นการรวม 2 ร่าง ระหว่าง ถ และ น จึงดูเสมือนสระมันอยู่บนตัวหลังคือ น พออนุโลมได้. เมื่อลองเอาสระอีของชุดตัวกว้างไปลองวางกํากับ ณ ดูกลับพบว่ามันดูไม่เรียบร้อย เพราะปลายสระแค่ยาวอีกหน่อย ก็จะกว้างครอบคลุมตัว ณ พอดี. ครั้นต่อให้ยาวเสมอหน้าตัว ณ กลับพบว่ามันยาวรุ่มร่ามเกินงามไปเสียอีก! เลยจบลงที่ 5 ชุดครับ.

สําหรับอักษรกลุ่มที่มีขมวดม้วนล่างอย่าง น ต้องเลือกขมวดม้วนแบบที่ใช้ยกเส้นล่างเฉียงชนเส้นหลัง แล้วต่อเส้นนอนเป็นสิ่งเลยออกไปด้านหลัง (ดูตัว ม ในโลโก้ อุทัยฟิล์ม) แทนที่จะเป็น น แบบที่ต่อเส้นตั้งเลยต่ำฐานลงไปเป็นขมวดม้วน (ดูตัว น ใน โลโก้ อินทรวิจิตร) เนื่องจาก น แบบหลังเมื่อวางสระอุ อู จะอยู่ต่ําลงไปจากเส้นฐานมากจนดูไม่สวย.

อย่างที่ผมกล่าวไว้แต่ตอนต้นๆ ว่า ต้นแบบของ DB YangDung เป็นอักษรที่ร่างด้วยเครื่องมือเขียนแบบ นี่เองน่าจะเป็นที่มาของการจัดระเบียบเส้นกลางแนวนอนของอักษรส่วนใหญ่ เช่น ขีดกลางของ ล, ส, ร, ย ขีดหัวของ ค, ด, จ, อ หรือแม้แต่ไหล่ของตัว ห) ให้ตรงแนวกัน. สุ่มเสียงที่ดังฟังชัดของมัน จึงแฝงไว้ด้วยกฎเกณฑ์แบบแผนที่น่าเชื่อถือ.

สําหรับชุดอักษรโรมันของ DB YangDung รวมทั้งเลขอารบิก ถูกออกแบบขึ้นใหม่ทั้งหมดโดยยึดหลักการของช่างเขียนชั้นครูที่ตกทอดมาถึงเรา. ตัวพิมพ์เล็กหลายตัว เช่น c, e, s และเลข 2, 3, 5 จะปล่อยเส้นบนเส้นล่างให้เหยียดตรงตามแนวนอนเหมือนเส้นบนที่พบใน จ, ล ของกลุ่มตัวเหลี่ยมหนังไทย จึงให้เสียงใกล้เคียงชุดอักษรไทยมาก.

ถึงแม้ ตัวพิมพ์ จะเป็นเพียง ‘เสียงชนิดเงียบ’ ก็ตาม ‘ความดัง’ ของ DB YangDung มันยังคงก้องกังวานนานเกินกึ่งศตวรรษ และยังไม่มีทีท่าจะเงียบลงได้ด้วยซ้ำ.

เป็น ‘ความดัง’ ที่ยั้งไม่อยู่อย่างแท้จริง.

จากคอลัมน์ a font a month
idesign magazine ฉบับ April 2013